แต่หากจะกล่าวตามตำนานคติทางพระพุทธศาสนาจะพบว่า “พรานบุญ” คือ อดีตชาติในชาติหนึ่งของพระอานนท์ พุทธอนุชา โดยในชาดกทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตชาติก่อนที่เจ้าชายสิทธัตธะจะทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเสวยพระชาติพระนามว่า “พระสุธน” ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าอาทิตยวงศ์เจ้าเมืองปัญจาลนคร ในเมืองปัญจาละทางทิศตะวันออกนั้น มีสระอยู่แห่งหนึ่ง น้ำใสสะอาดเหมือนแก้ว ทั้งยังเป็นที่อยู่พญานาคตนหนึ่งชื่อว่า ท้าวชมพูจิตร ซึ่งท่านช่วยคุ้มครองรักษาให้บ้านเมืองบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ห่างออกไปมีเมืองหนึ่งชื่อว่า มหาปัญจาละ ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของเมืองปัญจาละ เกิดข้าวยากหมากแพง พลเมืองได้ความลำบากมาก จึงได้พากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองปัญจาละ พระเจ้านันทราชผู้ครองเมืองมหาปัญจาละมีจิตคิดริษยา จึงคิดอุบายที่จะกำจัดท้าวชมพูจึงได้รับสั่งให้พราหมณ์ผู้มีมนตร์วิเศษ ฆ่าท้าวชมพูจิตเสีย
ขณะที่พราหมณ์กำลังร่ายมนต์จะกำจัดท้าวชมพูจิตนั้น มีนายพรานผู้หนึ่ง ชื่อว่า บุณฑริก (โดยปกติเราจะเรียกท่านว่า “พรานบุญ”) ได้เดินหาเนื้อมาทางขอบสระนั้นและได้ช่วยเหลือท้าวชมพูจิตไว้ เมื่อชมพูจิตรนาคราชได้พ้นภัยกล่าวแล้วได้มีความยินดีอย่างยิ่งรีบขึ้นมาหาพรานบุณฑริก พาไปยังนาคพิภพแล้วทำสักการ บูชาพรานนั้นครบเจ็ดวัน เมื่อพาพรานมาส่งได้ให้แก้ววิเศษดวงหนึ่ง ครั้นพามาถึงที่ขอบสระแล้วสั่งว่า “ถ้าท่านาจะต้องการพบเรา จงมา ณ ที่นี้ และตั้งใจนึกถึงนาคที่เฝ้าประตูของเรา แล้วนาคเฝ้าประตูนั้นจักพาท่านไปหาเรา” เสร็จแล้วนายพรานบุณฑริกก็ลากลับมาถึงบ้านของตน โดยความสวัสดี
ขณะนั้นนางกินนรทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นธิดาของท้าวทุมราชตั้งบ้านเมืองอยู่ที่เขาไกลาส ได้พาบริวารพันหนึ่งบินมาทางอากาศครั้นถึงสระในป่านั้นก็พากันลงเล่นน้ำ บ้างว่ายบ้างดำบ้างก็รำและขับร้องตามสบายครั้นเวลาบ่ายฝูงนางกินนร ชวนกันบินกลับ เมื่อนายพรานบุณฑริกได้เห็นก็เกิดความพิศวงยิ่งขึ้น เพราะแต่ก่อนตนไม่เคยเห็นจึงรำพึงในใจว่า “นางกินนรเหล่านี้งามนักหนา ถ้าเราได้นำไปถวายพระสุธนกุมารแล้ว ท้าวเธอคงโปรดปรานหาน้อยไม่” คิดแล้วก็กลับมาหาพระฤาษีอีก ถามว่า “ข้า แต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้ไปเห็นฝูงนางกินนรที่ลงเล่นน้ำในสระนั้นเกิดมีความพอใจยิ่งนัก ทำไฉนจักจับไปถวายเจ้านายข้าพเจ้าได้ ขอได้โปรดบอกอุบายให้ข้าพเจ้าสักหน่อยเถิด”พระ ฤาษีจึงตอบว่า “ไม่มีอุบายอันใดที่จะจับนางกินนรเหล่านี้ได้ดอก นอกจากจะจับด้วยนาคบาศ เท่านั้น”นาย พรานจึงถามว่า “นาคบาศนั้นมีอยู่ไหน ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจะรู้จัก” พระฤาษีจึงตอบว่า ” นาคบาศนั้นเป็นของพญานาคใครสามารถนำเอามาได้ ผู้นั้นคงจักได้นางกินนรเป็นแม่นมั่น” เมื่อนายพรานได้ฟังดังนั้น ก็ระลึกถึงพญานาคาชมพูจิตรจึงได้ไปยืมบ่วงนาคบาศของท้าวชมพูจิตเสร็จแล้วรีบมายังสระที่นางกินนรเคยอาบน้ำ เข้าไปแอบซุ่มอยู่ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้สระนั้น คอยดูนางกินนรเหล่านั้นอยู่
ครั้นได้เวลา นางกินนรทั้งเจ็ดผู้เป็นธิดาท้าวทุมราช ก็พาบริวารสวมปีกหาง บินทะยานจากเขาไกลาสมาทางอากาศ ครั้นถึงสระโบกขรณี ก็เปลื้องเครื่องประดับและปีกหางลงวางไว้ ต่างพากันลงไปเล่นน้ำในสระนั้นด้วยความสำราญเหมือนอย่างเคย ฝ่ายนายพรานผู้แอบอยู่ เห็นได้โอกาส จึงค่อยย่องออกจากพุ่มไม้แล้วขว้างนาคบาศ ลงไปกลางฝูงนางกินนร บ่วงนาคนั้นได้ไปคล้องมือนางมโนรา (มโนหรา อ่าน มะ-โน-รา แปลว่า ยั่ว, งามหรือต้องอารมณ์เรามักเขียนเพี้ยนไปเป็น มโนห์รา ชาวใต้เรียก โนรา) ไว้แน่น จะดึงสักเท่าไรก็ไม่หลุด พรานบุญจึงได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน
ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่ง ได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธน เพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์
ซึ่งหน้าพรานนั้น มีคุณทางด้านโชคลาภเมตตามหานิยมมหาเสน่ห์และโภคทรัพย์ ค้าขาย ดีเรื่องเมตตาและทำมาค้าขายเรียกคน เป็นที่รักของคนหมู่มากไม่มีใครเกลียด ยังสามารถกันคุณไสยและขับออกไปได้ ไม่ว่าจะถูกกระทำมาด้วยอาคมหรือภูติวิญญาณ ใช้บูชาประจำบ้านเรือนร้านค้าเรียกลาภ เรียกคน หากมีหน้าพรานไว้กับตัว กันกระทำต่างๆรวมถึงป้องกัน ลมเพลมพัดได้อีกด้วย กล่าวโดยรวมคือหน้าพรานมโนราห์นี้ ดีทั้งกัน และแก้ในตัวอย่าสนเท่ห์ โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งพ่อท่านเขียว วัดหวยเงาะ จ.ปัตตานี ได้อธิบายให้ลูกศิษย์ฟังว่า “ไม่มีการค้าใดหรือทำสิ่งได้จะได้ผลตอบแทนมากเท่าพรานบุญ เพราะพรานบุญจับนางมโนราห์ได้เพียงนางเดียว เช้ารุ่งขึ้นก็ได้รับบำเหน็จจากกษัตริย์ ครองเมือง 1 เมืองพร้อมทรัพย์สมบัติและบริวารมากมาย”
ติดต่อบูชา LINE : @namotasa